วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Chiranan Pitpreecha



จิระนันท์ พิตรปรีชา 


           จิระนันท์ พิตรปรีชา  เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดตรัง มีความสนใจในการประพันธ์ตั้งแต่เด็ก จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ แผนกเตรียมเภสัช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกให้เป็นดาวจุฬา พ.ศ.2515ใน พ.ศ.2516 เป็นหนึ่งในผู้นำนักศึกษาที่ร่วมโครงการส่งเสริมประชาธิปไตย ของ ศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (ศสป) ซึ่งรัฐบาลอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยการดูแลของทบวงมหาวิทยาลัยซึ่ง อ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ เป็น รมต.
        ทั้งนี้ ได้รับการชักชวนจาก นายวิรัติ ศักดิ์จิรภาพงศ์ ผู้นำนักศึกษาที่เป็นนิสิตจุฬาฯรุ่นพี่ กิจกรรมแรก คือ การจัดอบรมอาสาสมัครส่งเสริมประชาธิปไตย ที่ จิตตภาวันวิทยาลัย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อ มี.ค. 2517 หลังจากนั้น เธอได้มีบทบาทในการแต่งคำประพันธ์เพื่ออ่านบนเวทีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานและกลุ่มสตรีต่างๆ ในยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน และต้องหนีเข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อยู่หลายปี จิระนันท์มีชื่อจัดตั้งในป่าว่า สหายใบไม้ จากนั้นไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา

       ชีวิตครอบครัว สมรสกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือ สหายไท อดีตผู้นำนักศึกษาที่ร่วมต่อสู้มาด้วยกันตั้งแต่อยู่ในป่า ทั้งคู่มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ แทนไท ประเสริฐกุล และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
        นอกจากนี้เรื่องราวของเธอกับสามีได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน เมื่อปี พ.ศ. 2544
ผลงานหนังสือ
ใบไม้ที่หายไป, สำนักพิมพ์อ่านไทย, เมษายน 2532 (รางวัลซีไรต์)
หนังสือเกี่ยวกับการแปลบทบรรยายภาพยนตร์
ชะโงกดูเงา, แพรวเอนเตอร์เทน, พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2541
ชุดหม้อแกงลิง
หม้อแกงลิง คำให้การของคนให้คำ”, แพรวเอนเตอร์เทน, กันยายน 2541
หม้อแกงลิง (2) “จารึกขอบจอ”, เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส, พฤศจิกายน 2546
หม้อแกงลิง (3) “รำพึงถึงบทหนัง” , เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส, ธันวาคม 2546

Chokchai Bundit (Chokchai Bunditsilasak)


โชคชัย บัณฑิต




            โชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2509 เป็นอาจารย์และนักเขียนรางวัลซีไรต์ เริ่มมีผลงานเผยแพร่ตามหน้านิตยสารตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ขณะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยอยู่ที่ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี จังหวัดสมุทรปราการ   โชคชัยเกิดที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรคนโตของ นายประมวล-นางบุญเลี่ยม บัณฑิตศิละศักดิ์ มีน้องชาย 1 คนคือ นายไกรลาศ บัณฑิตศิละศักดิ์ โชคชัยเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนปฐมสิทธิ์พิทยาคาร (ป.1/4) แล้วเรียนต่อโรงเรียนบูรพาศึกษา ในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์จนจบ ป.6 หลังจากนั้นเข้าเรียน ป.7 ที่โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ และเข้าเรียนมัธยมศึกษา (ม.ศ.1-5) ในโรงเรียนนครสวรรค์ในอำเภอเมืองนครสวรรค์
ผลงาน
กังสดาลดอกไม้ รวมบทกวี พ.ศ. 2534
ลมอ่อนตะวันอุ่น รวมบทกวี พ.ศ. 2537
เงานกในร่มไม้ รวมบทกวี พ.ศ. 2538
บ้านเก่า จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์รูปจันทร์ พ.ศ. 2544 (รวมบทกวีได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2544 และได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 เล่ม หนังสือแนะนำสำหรับเยาวชน ของ สกว.)
เขียนกระดาษ วาดละคร รวมเรื่องสั้น พ.ศ. 2545
รูปฉายลายชีพ รวมบทกวี พ.ศ. 2553(1 ใน 6 เล่ม เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2553)
กวี ดู-โอ ดู อิท บนเฟซบุ๊ค รวมบทกวี พ.ศ. 2555 (เขียนร่วมกับ ศักดิ์ชัย ลัคนาวิเชียร)
ของฝากจากแดนไกล รวมบทกวี พ.ศ. 2556 (1 ใน 7 เล่ม เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2556)

ผลงานบทกวีบางชิ้นได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ ฝรั่งเศส เขมร) บทกวี "ในสระน้ำใส" และ "นครเมฆา" ได้รับการบรรจุเป็นบทเรียนในแบบเรียนวิชาภาษาไทยของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช (ชั้น ม.2 และ ม.4) รางวัลวรรณกรรมที่เคยได้รับนอกจากรางวัลซีไรต์ โชคชัยยังได้รับรางวัลบทกวีดีเด่น จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2552(เหตุการณ์ในกองถ่าย)และรางวัลชมเชย เมื่อ พ.ศ. 2535 (เวทนา) พ.ศ. 2541 (ปีกไม้-ลายแทง) พ.ศ. 2549 (คลอนด้ามขวาน) พ.ศ. 2551 (ขุดรากถากเหง้า)และ พ.ศ. 2553(โทษธรรม์!) เกียรติคุณอื่น ๆ เช่น ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2550 นักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดีเด่น สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พ.ศ. 2553



Sila Komchai (Winai Boonchuay)



ศิลา โคมฉาย


            วินัย บุญช่วย  นามปากกา ศิลา โคมฉาย วันเกิดวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ที่ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาจบมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ก่อนจะมาเรียนต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นช่วงเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519ด้วยความเป็นหนอนหนังสือ ประกอบกับมีโอกาสได้คลุกคลีอยู่ในแวดวงของนักอ่านนักเขียน ทำให้เขาเริ่มมีงานเขียนตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมด้วยเรื่องสั้น ก่อนจะมีผลงานทั้ง นวนิยาย ความเรียง สารคดี รายงาน และบทความ  เริ่มต้นเขียนหนังสือโดยใช้ชื่อสกุลจริง "วินัย บุญช่วย" แต่พอหลัง 6 ตุลา กลับมาจากป่า ก็เขียนเรื่องสั้นมาจำนวนหนึ่ง เรื่อง เอาไปทิ้งไว้ที่มติชน เอาไปฝาก เสถียร จันทิมาธร บรรณาธิการเครือมติชนในขณะนั้น แล้วเรื่องสั้นก็ได้ลงหนังสือ "เฟื่องนคร" ขณะนั้นไม่มีนามปากกา บรรณาธิการเสถียรก็ใส่ชื่อ "ศิลา โคมฉาย"
ผลงาน
เพลง
เป็นผู้แต่งคำร้องและทำนองเพลง "ดาวแดงแห่งภูพาน" ที่มีชื่อเสียง
หนังสือ
พ.ศ. 2516 "ก่อนจะสิ้นแสงดาว" ได้ลงพิมพ์ใน "สยาม-รัฐสัปดาห์วิจารณ์"
พ.ศ. 2517 ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้ร่วมงานกับรุ่นพี่ และได้ทำหนังสือเฉพาะกิจ เรื่อง "เวลา"
พ.ศ. 2518 ก่อตั้งวงดนตรีเพื่อชีวิต "โคมฉาย"
พ.ศ. 2532 ได้พิมพ์นวนิยายเรื่อง "ทางเสือ" และใช้นามปากกาว่า "ศิลา โคมฉาย"
พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัลซีไรต์จากรวมเรื่องสั้นชุด "ครอบครัวกลางถนน"

นอกจากนี้ ยังมีผลงานที่รวมเล่ม ได้แก่ เรื่องสั้น พันธะแห่งเสรีภาพ, ครอบครัวกลางถนน, แล้วเมล็ดพันธุ์มิหยั่งราก ส่วนวนิยายมี ทางเสือ และ ในกรงเล็บ

Chart Kobchitti



ชาติ กอบจิตติ


             ชาติ  กอบจิตติ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2497)เกิดที่จังหวัดสมุทรสาคร ละแวกคลองสุนัขหอน เริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ ต่อมาขณะที่เรียนเทอมสุดท้ายของ ชั้นประถมปีที่ 7 จำเป็นต้องไปอยู่กับยาย จึงย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเอกชัยในตัวจังหวัดสมุทรสาคร (มหาชัย) เพราะแม่ต้องไปอยู่เรือทรายกับพ่อที่จังหวัดราชบุรี จากนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2509 โดยอาศัยอยู่กับพระซึ่งเป็นเพื่อนของอาที่วัดตะพานหรือวัดทัศนารุณ มักกะสัน เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วได้สอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยเพาะช่าง ในสาขาภาพพิมพ์
ผลงาน
เรื่องสั้นเรื่องแรก "นักเรียนนักเลง" ตีพิมพ์ในหนังสือ อนุสรณ์ ของโรงเรียนปทุมคงคา เมื่อพ.ศ. 2512 เรื่อง "ผู้แพ้" ได้รับรางวัลช่อการะเกด (2522) เคยประจำกองบรรณาธิการหนังสือ "ถนนหนังสือ" และใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกาชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะกลับเมืองไทย ผลงานบางส่วนได้จัดแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นเช่น "คำพิพากษา" "พันธุ์หมาบ้า" และ "เวลา" มีผลงานอาทิเช่น "ทางชนะ" (พ.ศ. 2522) "มีดประจำตัว" (พ.ศ. 2527) "นครไม่เป็นไร" (พ.ศ. 2532) นวนิยายเรื่อง "คำพิพากษา" ได้รับรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2525 นิยายเรื่อง "เวลา" ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2537

Paiwarin Khao-Ngam



ไพวรินทร์ ขาวงาม  


            ไพวรินทร์ เกิดในครอบครัวชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายสมัย และนางดวน ขาวงาม เขาเป็นคนที่ 3 จากพี่น้อง 9 คน จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านตาหยวก และบวชเรียนต่อจนจบมัธยมปลาย ที่มหาวชิราลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตของมหามงกุฎราชวิทยาลัย สาขาวังน้อยพระนครศรีอยุธยา อยู่ช่วยฝึกสอนวิชาภาษาไทยและวรรณคดี เพื่อตอบแทนคุณสถาบันระยะหนึ่งจึงลาสิกขาบท  จากนั้นมุ่งสู่เชียงใหม่ เป็นพนักงานพิสูจน์อักษร หนังสือพิมพ์ประชากรรายวัน ก่อนเลื่อนฐานะขึ้นเป็นนักข่าว สั่งสมประสบการณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเล็กๆ หลายฉบับ จวบปี 2527 ตัดสินใจเข้ากรุง ทำงานฝ่ายศิลป์นิตยสารสปีดเวย์ ต่อสู้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะทำรูปเคลือบพลาสติกวางขายข้างถนน พนักงานขายไอศกรีม ปี 2528 ช่วยงานนิตยสารสู่ฝัน ปี 2531 ประจำกองบรรณาธิการวารสารปาจารยสาร ต่อมาเป็นบรรณาธิการเฉพาะกิจสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ประจำกองบรรณาธิการหนังสือดีเขต เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการชีวิตต้องสู้ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์อิสระ
ผลงาน
ลำนำวเนจร (2528) รวมบทกวี
คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ (2529) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2529
ไม่ใช่บทกวีจากชายป่าอารยธรรม (2530) รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์
ฤดีกาล (2532) รวมบทกวี เข้ารอบซีไรต์ พ.ศ. 2535
คือแรงใจและไฟฝัน (2534) รวมบทกวี
ถนนนักฝัน (2535) รวมบทกวีประกอบภาพ
ม้าก้านกล้วย (2538) รวมบทกวี ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2538
เจ้านกกวี (2540) รวมบทกวี
ทอดยอด (2542) รวมบทความและเรื่องสั้น
เพราะภาพพูดได้ หัวใจจึงขอฟัง (2544)
ผมจรรอนแรมจากลุ่มแม่น้ำมูล (2545)
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก (2545)
ดวงใจจึงจำนรรจ์ (2547)
จิบใจ จอกจ้อย (2547)

กลอนกล่อมโลก (2547)

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Binlah Sonkalagiri


บินหลา สันกาลาคีรี



            วุฒิชาติ ชุ่มสนิท  เกิดปี พ.ศ. 2508 เป็นบุตรของครูสอนภาษาไทย ชูชาติ และ อาวรณ์ ชุ่มสนิท จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ด้วยความที่อยากเป็นนักหนังสือพิมพ์ ใน พ.ศ. 2527 บินหลาเอ็นทรานซ์เข้าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ ปี 3 เป็นคนหนึ่งที่เข้าร่วมงานในฐานะพนักงานปรู๊ฟและเขียนคอลัมน์ในเวลาไล่เลียกัน  เขาได้เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์มติชนประจำกระทรวงพาณิชย์  หลังจากเป็นนักข่าว 2 ปี บินหลาลาออกจากมติชนเพื่อไปเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสาร "ไปยาลใหญ่" เขาเคยพูดถึงไปยาลใหญ่ว่าเป็นที่ที่ทำให้เขารู้จักตัวเองงานเขียนชุดแรกของเขาคือรวมเรื่องสั้นฉันดื่มดวงอาทิตย์ แต่งานที่สร้างชื่อเสียงให้กับบินหลาคือบันทึกการเดินทางด้วยจักรยาน ชื่อว่า หลังอาน  รวมเรื่องสั้นชุด คิดถึงทุกปี เคยได้รับรางวัลชมเชยประเภทรวมเรื่องสั้นประจำปี 2542 จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กรมวิชาการเรื่องชุดปลาฉลามฟันหลอ ก็ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครเวทีหลายครั้งด้วยกัน และรวมเรื่องสั้นชุด เจ้าหงิญ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน  (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ.2548  นอกจากนั้นเขายังเคยเขียนเพลง ญาติเยอะ ให้กับ ยุ้ย - จริยา ปรีดากูล จนเป็นที่มาของฉายา ยุ้ย ญาติเยอะ มีงานเขียนบทภาพยนตร์รวมทั้งบทกวีในนามปากกาอื่นด้วย
ผลงาน
เจ้าหงิญ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นทั้ง 8 เรื่อง ของ บินหลา สันกาลาคีรี ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2548
คนรักกับจักรยาน
คิดถึงทุกปี
ดวงจันทร์ที่จากไป
ดื่มทะเลสาบ อาบทะเลทราย
เที่ยวสิบทิศ : สิบสองนักเขียน
นกก้อนหิน
บินทีละหลา
ปลาฉลามฟันหลอ
ปุชิตา
รวมเรื่องสั้น คิดถึงทุกปี
รอยย่ำที่นำเราไป
หลังอาน
เราพบกันเพราะหนังสือ
ภู-มี-ศาสตร์   
Powered By Blogger